8.การทดลองของฟรังก์และเฮิรตซ์

19.7  การทดลองของฟรังก์และเฮิรตซ์

1. ฟรังก์และเฮิร์ตซ์ได้ทำการทดลองเรื่องการชนกันของอะตอมต่างๆ โดยใช้ประจุอิเล็กตรอนกับอะตอมของ

ปรอท

2. เมื่ออิเล็กตรอนชนกับอะตอมของปรอทจะทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงานจากอิเล็กตรอนไปยังอะตอม และ

พลังงานที่อะตอมได้รับจะถ่ายทอดต่อไปยังอิเล็กตรอนในอะตอมอีกต่อหนึ่ง ถ้าพลังงานมากพอที่จะทำให้

เกิดอิเล็กตรอนหลุดออกมาเป็นอิสระแสดงว่าเกิดการ  Ionization

3. จากการทดลองของฟรังก์และเฮิรตซ์  พบว่า

3.1  ถ้าพลังงานจลน์ที่อิเล็กตรอนต่ำกว่า  4.9  eV  (ความต่างศักย์ที่ใช้เร่งอิเล็กตรอนต่ำกว่า 4.9  eV ) การ

ชนระหว่างอิเล็กตรอนและอะตอมของปรอทจะเป็นการชนแบบยืดหยุ่น (elastic  collision) คือ Ekก่อนชน

เท่ากับ Ek  หลังชนนั่นแสดงว่า อิเล็กตรอนไม่สามารถทำให้อะตอมของปรอดเปลี่ยนระดับพลังงานจาก

Ground  State  ได้ เพราะอะตอมของปรอทไม่สามารถดูดกลืนพลังงานจลน์ที่ต่ำกว่า 4.9  eV ได้

3.2  เมื่อเพิ่มพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนเป็น  4.9  eV ทำให้อะตอมของปรอทเปลี่ยนระดับพลังงานจาก  Ground  State  (E1) ไปยัง  Excited  State (E2)  ครั้งแรกสุดของการกระตุ้นได้

3.3  ถ้าเพิ่มพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนขึ้นไปอีก ก็จะกระตุ้นอะตอมของปรอทอะตอมที่สอง และอะตอมที่สามได้อีกเรื่อยๆ แต่ทุกอะตอมของปรอทยังคงต้องการพลังงานจลน์  4.9 eV  เหมือนเดิม

3.4 ถ้าอะตอมของปรอทที่ถูกกระตุ้นไปอยู่ในระดับพลังงาน E2  และจะเปลี่ยนระดับพลังงานเข้าสู่ระดับพลังงาน Ground  State  (E1) จะต้องปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  ซึ่งเรียกว่า Photon  มีพลังงานเท่ากับ  4.9 eV

3.5 ฟรังก์และเฮิร์ตซ์  สรุปการทดลองว่า ในการชนระหว่างอิเล็กตรอนกับอะตอมจะดูดกลืนพลังงานได้เพียงบางจำนวนเท่านั้นซึ่งชี้ให้เห็นว่าระดับพลังงานของอะตอมไม่ต่อเนื่อง กันเป็นไปตามทฤษฎีของโบร์  คือ 4.9 , 6.7 , และ  10.4  eV   ดังรูป 19.11

1 (33)(8)

รูป  19.11  การรับพลังงานของอะตอมของปรอท