10. ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (Photoelectric effect)

19.9    ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (Photoelectric  effect)

           ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก คือ ปรากฏการณ์ที่ฉายแสงที่มีความถี่สูงตกกระทบผิวโลหะแล้วทำให้เกิดประจุไฟฟ้าลบ(อิเล็กตรอน)  หลุดออกมาจากโลหะได้  อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาเรียกว่า โฟโตอิเล็กตรอน

ผลการศึกษาปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก  สรุปได้ดังนี้

1. โฟโตอิเล็กตรอนจะเกิดขึ้น  เมื่อแสงที่ตกกระทบโลหะมีความถี่ไม่น้อยกว่าค่าความถี่คงตัวค่าหนึ่งเรียกว่า  ค่าความถี่ขีดเริ่ม ( f0 )

2.  จำนวนโฟโตอิเล็กตรอนจะเพิ่มขึ้น  เมื่อแสงที่ใช้มีความเข้มแสงมากขึ้น

3.  พลังงานจลน์สูงสุด Ek(max)  ของอิเล็กตรอนไม่ขึ้นกับความเข้มแสง  แต่ขึ้นกับค่าความถี่แสง

4.  พลังงานจลน์สูงสุดมีค่าเท่ากับความต่างศักย์หยุดยั้ง

แสงมีสมบัติเป็นก้อนพลังงาน ( photon )  เมื่อกระทบกับผิวโลหะจะถ่ายโอนพลังงานให้กับอิเล็กตรอนของโลหะทั้งหมด hf  พลังงานส่วนหนึ่ง ( hf0 )  ทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากผิวโลหะได้  ซึ่งเท่ากับพลังงานยึดเหนี่ยวอิเล็กตรอนของโลหะ  เรียกว่า ( work  function ) ใช้สัญลักษณ์  ( W )  และพลังงานที่เหลือเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนซึ่งเท่ากับพลังงานที่ใช้หยุดยั้งอิเล็กตรอนนั้น ( eVs)  ตามสูตร

 E   =   hf  –  W

โดยพลังงานของอิเล็กตรอนจะอยู่ในรูป    E =    หรืออาจวัดของความต่างศักย์หยุดยั้ง ( VS คือความต่างศักย์ที่ใช้หยุดอิเล็กตรอนได้พอดี )  ซึ่งจะได้ว่า   E  =  eVS  (จูล)   =   VS  (eV.)

สมการของพลังงานโฟโตอิเล็กตรอนจึงเขียนได้เป็น

Ekmax  =   eV =  hf  –  W

                                                   eVS    =    hf –  hf0                                   เมื่อ  W  =   hf0

E=n(hf)